วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ยารักษาโรค

ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
เภสัชกรรม  เภสัชวิทยา 
อาการที่เกี่ยวข้อง :

ยาหมายความว่าอย่างไร?

ยา ในที่นี้ คือ ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug, Drug, Medicines, Medication, หรือ Medicament) หมายถึง วัตถุ และ/หรือ สารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ และสัตว์ โดยต้องใช้ความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะมาผนวกในการ ผสม ปรุงแต่ง และแปรสภาพสาระสำคัญและส่วนประกอบอื่นตามสูตรตำรับ
ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย และได้มีการคิดค้นผลิต ภัณฑ์ยาที่นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้ในการป้องกันบำรุงและช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง และสามารถต้านทานโรคที่จะเข้ามาคุกคามร่างกายได้อีกด้วย เช่น วัคซีนเป็นต้น

ฉลากยาหมายความว่าอย่างไร?

ยารักษาโรค
ฉลากยา (Drug label) เป็นเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

เอกสารกำกับยาหมายความว่าอย่างไร?

เอกสารกำกับยา (Patient information leaflet) เป็นเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆของยา โดยจะมีข้อมูลเกี่ยวกับยาในเชิงลึกมากกว่าฉลากยา ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ โดย ทั่วไปเอกสารกำกับยาจะประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
  • ชื่อยาที่เป็นชื่อการค้า โดยใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
  • สูตรยา ที่แจกแจงรายละเอียดของชื่อสามัญ (ชื่อจริงของยา) ของตัวยาสำคัญ โดยระบุน้ำหนักต่อหน่วย เช่น 500 มิลลิกรัม/เม็ด 125 มิลลิกรัม/ช้อนชา
  • ลักษณะยา โดยบ่งบอกเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด ยาผง ยาครีม ยาขี้ผึ้ง ฯลฯ และบ่งบอกสี กลิ่น รส เคลือบฟิล์ม เคลือบน้ำตาล ซึ่งเป็นลักษณะประจำตัวของยานั้นๆ
  • คุณสมบัติในการรักษาโรค โดยระบุรายละเอียด และกลไกของยาที่ออกฤทธิ์ในการรักษาโรค มักใช้คำศัพท์วิชาการมาบรรยายเนื้อหา จึงเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจ
  • ขนาดวิธีใช้ วิธีรับประทาน ตาน้ำหนัก อายุ ลักษณะความเจ็บป่วย โดยจะมีระยะเวลาของการใช้ยากำกับมาด้วย
  • ข้อห้ามใช้ เป็นการระบุการห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาหรือผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังบางอย่าง ซึ่งเมื่อใช้ยานั้นๆอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  • คำเตือนและข้อควรระวัง เป็นการระบุและเฝ้าระวังก่อนใช้ยา โดยมักระบุถึงความน่าจะเป็น หรืออาจเกิดโทษต่อระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด ต่อทารกในครรภ์ ต่อเด็กที่ต้องดื่มนมแม่ ฯลฯ หากผู้บริโภคทำความเข้าใจ ก็จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้การใช้ยามีความปลอดภัยมากขึ้น
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยา ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังการใช้ยานั้นๆ โดยแสดงอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆต่อร่างกาย ผลข้างเคียงของยาอาจจะเกิดหรือไม่เกิดกับใครคนใดคนหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับการตอบสนองของร่างกายของแต่ละคนไป อีกทั้งยังขึ้นกับระดับหรือปริมาณยาที่ได้รับเข้าไปด้วย
  • ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ (ปฏิกิริยาระหว่างยา) ในขณะที่ผู้ป่วยได้รับยามากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ยาแต่ละชนิดอาจทำปฏิกิริยากันจนส่งผลเสียต่อร่างกาย หรือหมดคุณสมบัติของการรักษาโรค ในข้อนี้เอกสารกำกับยาจะระบุชื่อยาที่มีปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน และกล่าวถึงผลลัพธ์ที่จะติดตามมา
  • การใช้ยาในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่อยู่ในสภาวะให้นมบุตร โดยจะกล่าวถึงข้อห้ามใช้ การกระจายตัวของยาจากแม่สู่ทารกดังนั้น จึงเป็นข้อตระหนักของประชาชนโดยทั่วไปว่า ไม่สมควรซื้อยารับประทานเองในขณะที่ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในภาวะให้นมบุตร ด้วยยาหลายชนิดมีอันตรายต่อเด็กและต่อมารดาที่ตั้งครรภ์
  • คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา โดยระบุกลไกหรือวิธีการที่ยาออกฤทธิ์ต่อร่างกาย รวมไปถึงการดูดซึม และการกระจายตัวของยาไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ จนกระทั่งการขับยาออกจากร่าง กาย
  • วิธีเก็บรักษา ด้วยเหตุผลในการคงคุณภาพของยา และรักษาอายุของยาได้ตามกำหนด โดยระบุถึงเงื่อนไขที่ใช้ในการเก็บยา เช่น เก็บให้พ้นแสงแดด เก็บให้พ้นมือเด็ก เก็บในที่อุณหภูมิไม่เกินกี่องศา เก็บในที่แห้ง อยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทมิดชิดไม่สัมผัสกับอากาศภายนอก
  • ขนาดบรรจุ จะระบุปริมาณบรรจุยาต่อภาชนะที่ใช้บรรจุ เช่น บรรจุ 1,000 เม็ด/ขวด บรรจุ 180 ซีซี/ขวด
  • บริษัทผู้ผลิตพร้อมที่อยู่
อนึ่ง รายละเอียดของเอกสารกำกับยาของแต่ละบริษัทอาจมีข้อมูลมากกว่าหรือน้อยกว่าหัวข้อข้างต้น หากผู้บริโภคสามารถอ่านและศึกษาทำความเข้าใจก็จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไป ใช้ได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อมีข้อสงสัยในเรื่องของยา ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล และ/หรือ เภสัชกร เพิ่มเติมเสมอ

ยามีกี่ประเภท (Classification of medicines)?

หากแบ่งยาแผนปัจจุบันตามหลักของกฎหมาย โดยสำนักคณะกรรมการอาหารและยา สามารถจำแนกยาเป็นหมวดได้ดังนี้
  • ยาสามัญประจำบ้าน (Household remedies) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการของโรคที่ไม่ค่อยร้ายแรงหรือซับซ้อนมากนัก และสามารถซื้อได้ง่าย มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ยก ตัวอย่างเช่น ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซีย ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาเกลือแร่ ยาธาตุน้ำแดง ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับเด็ก ยาระบายแมกนีเซีย ยาถ่ายพยาธิตัวกลมมีเบนดาโซล เป็นต้น
  • ยาอันตราย (Dangerous drug) จัดเป็นยาที่มีจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันมากที่สุด โดยมีการระบุคำว่า “ยาอันตราย” ลงบนฉลากยาและพิมพ์ด้วยสีแดง ประโยชน์ยาหมวดนี้ใช้รักษาอาการโรคต่างๆมากมาย อาทิเช่น โรคของระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ โรคของระบบการขับถ่าย โรคทางเดินอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคภูมิแพ้ โรคเบา หวาน และโรคอื่นๆอีกมากมาย นอกจากจะมีฤทธิ์ในการรักษาแล้ว มักมีผลอันไม่พึงประสงค์ หรืออาการข้างเคียงติดตามมาด้วย บางคนอาจมีอาการแพ้ยาจนไม่สามารถใช้ยาตัวที่แพ้ได้อีก นอกจากเงื่อนไขในการใช้ยารักษาโรคแล้ว ยังต้องอาศัยการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ จึงจะสั่งจ่ายยาในหมวดนี้ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นประชาชนทั่วไปจึงไม่ควรซื้อยาหมวดนี้มารับประทานเอง
  • ยาควบคุมพิเศษ (Special controlled drug) เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่า นั้น ด้วยเหตุผลการรักษาโรคอย่างเจาะจง และระยะเวลาของการใช้ยาต้องเหมาะสม การใช้ยาผิดพลาดอาจส่งผลเสียต่อผู้ใช้อย่างร้ายแรง
  • ยาเสพติดให้โทษ (Narcotics) สำนักคณะกรรมการอาหารและยา แบ่งยาเสพติดออกเป็น 5 ประเภท (http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/narcotics/other.htm) ตามความรุนแรงของการออกฤทธิ์ และตามกฏหมายลงโทษ ด้วยการใช้ยากลุ่มนี้ทำให้เกิดการเสพติด จึงถือเป็นข้อจำกัดในการใช้ยา ยาเสพติดให้โทษไม่มีจำหน่ายในร้านขายยา สถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตต้องสั่งซื้อจากกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระ ทรวงสาธารณสุขเท่านั้น การซื้อต้องมีเหตุผลและข้อมูลสถิติการใช้ยาแต่ละเดือนเป็นองค์ประ กอบ และจำกัดปริมาณการซื้อแต่ละครั้ง แพทย์เท่านั้นสามารถสั่งจ่ายยาเสพติดให้โทษโดยมีการควบคุมขนาดและระยะเวลาในการใช้อย่างใกล้ชิด
  • วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (Psychotropic substance) เป็นสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหรือกดประสาท แบ่งออกเป็นประเภทที่ 4 ประเภท (http://www.dmsc.moph.go.th/ webroot/narcotics/other.htm) ตามความรุนแรงของยา และตามความจำเป็นในการต้องนำยานั้นๆมาใช้ทางการแพทย์ การสั่งซื้อต้องผ่านสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมวัตถุเสพติด เช่นเดียวกับยาเสพติดให้โทษ ยาลดน้ำหนักบางกลุ่ม ยานอนหลับ ยาคลายกังวลบางกลุ่มจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แพทย์เท่านั้นสามารถสั่งจ่ายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยมีการควบคุมขนาดและระยะเวลาในการใช้อย่างใกล้ชิด
อนึ่ง คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกายังแบ่งระดับความปลอดภัยของการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ (FDA Pregnancy Safety Index/PSI) ออกเป็น 5 หมวด/Category ดังนี้
  • Category A เป็นยาที่ศึกษาการใช้ในหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก พบว่าไม่มีความเสี่ยงหรือก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารก และยังไม่มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยงหรืออันตรายที่เกิดกับทารกในช่วงเดือนถัดมา (ไตรมาสที่ 2 และที่ 3 ของการตั้งครรภ์) จึงถือว่าเป็นกลุ่มยาที่ค่อนข้างปลอดภัย สามารถใช้ในหญิงมีครรภ์ได้
  • Category B เป็นยาที่มีการศึกษากับตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ของสัตว์ทดลอง พบว่า ไม่ก่อ ให้เกิดความผิดปกติ หรือเกิดความเสี่ยงกับตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทด ลอง แต่ไม่มีการศึกษาการใช้ยากับมนุษย์ และยังไม่มีการยืนยันรับรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก
  • Category C เป็นยากลุ่มที่มีการศึกษากับตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ของสัตว์ทดลอง พบว่า ก่อ ให้เกิดการผิดรูปร่างและเป็นอันตรายกับตัวอ่อน และยังไม่มีการศึกษาหรือทดลองใช้กับหญิงมีครรภ์ จึงไม่สมควรใช้กับหญิงมีครรภ์ เว้นแต่ดุลยพินิจของแพทย์ว่า หากจำเป็นต้องใช้กับหญิงมีครรภ์ และก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษที่จะได้รับ
  • Category D เป็นยาที่พบหลักฐานว่าก่อให้เกิดอันตรายหรือความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ ไม่สมควรใช้กับหญิงมีครรภ์เว้นแต่ว่าจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาชี วิตมารดา และไม่สามารถใช้ยาตัวอื่นที่มีความปลอดภัยกว่ามาทำการรัก ษาได้
  • Category X เป็นยาที่มีการศึกษากับตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลองหรือศึกษาในหญิงมีครรภ์ พบว่าก่อให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนและทารกในครรภ์ จัด เป็นกลุ่มยาที่ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์โดยเด็ดขาด

ทำไมต้องทำยาหลายรูปแบบ? แต่ละรูปแบบจำหน่ายต่างกันอย่างไร?

เทคโนโลยีในการผลิตยาแผนปัจจุบันจะพัฒนารูปแบบของยาให้เหมาะสมกับผู้บริโภค โดยทำให้มีทางเลือกในการใช้ยามากขึ้น รูปแบบจำหน่ายของยาแต่ละตำรับอาจจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้ยาได้ดังนี้
  • ตามลักษณะการใช้ เช่น ยาที่ใช้รับประทาน ยาทาภายนอก ยาหยอดตา ยาหยอดจมูก ยาหยอดหู ยาฉีด (ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเข้าหลอดเลือด) ยาพ่นเพื่อสูดดม ยาสวนทวาร การมีช่องทางการใช้ได้มาก ย่อมเอื้อประโยชน์และมีประสิทธิผลในการรักษาได้รวดเร็วและทันเวลามากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเป็นกรณีเร่งด่วน การใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานอาจจะไม่ทันเวลา ต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเพื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ตาน้ำหนัก อายุ โดยทั่วไปขนาดของยา 1 ชนิด มักถูกจ่ายโดยใช้เกณฑ์ของน้ำหนักและอายุมาเป็นตัวพิจารณาในการคำนวณ ซึ่งจะระบุในเอกสารกำกับยาและฉลากยาเป็นสำคัญ ตัวอย่างการใช้ยากับเด็กเล็กซึ่งยังไม่สามารถกลืนยาเม็ด ยาแคปซูลได้ดีเท่าผู้ใหญ่ ก็ต้องใช้เป็นลักษณะยาน้ำเชื่อม ยาน้ำแขวนตะกอน หรือยาผงละลายน้ำ เป็นต้น
  • ตามเพศ หรือตามสรีระของร่างกาย เช่นยาเหน็บฆ่าเชื้อราในอวัยวะเพศหญิง ถูกออกแบบมาให้ปลดปล่อยตัวยาในบริเวณจุดซ่อนเร้นโดยตรง หรือยาแก้หอบหืด ที่พ่นเข้าสู่ระ บบทางเดินหายใจโดยตรงย่อมออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าชนิดรับประทาน และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทันเวลา
  • ตามลักษณะการเจ็บป่วย ในขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับหรือหมดสติ การให้ยาโดยการฉีดเข้าร่างกาย อาจจะเป็นวิธีที่เหมาะสมและสะดวกกว่าการกินยา ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ รักษา

ชื่อสามัญของยา ต่างกับ ชื่อการค้าอย่างไร?

ชื่อสามัญของยา (Generic name) คือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีที่มาจากตัวยาหลักของยาชนิดนั้นๆ ดังนั้นยาชนิดเดียวกันแต่ผลิตจำหน่ายจากหลายๆบริษัทโดยมีชื่อทางการค้าต่างกัน จะมีชื่อสามัญตัวเดียวกันเสมอ และถือเป็นชื่อสากลโดยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก
ชื่อทางการค้า (Trade name) ถูกตั้งขึ้นด้วยเหตุผลทางธุรกิจและการค้า ยาที่มีชื่อสามัญเดียวกันมักจะถูกผลิตจากบริษัทยาหลายแห่ง ดังนั้นแต่ละบริษัทจึงต้องตั้งชื่อทางการค้าขึ้นมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างในด้านรูปลักษณ์ ตลอดจนกระทั่งราคาซื้อขาย และง่ายต่อการจดจำ แต่สรรพคุณในการรักษาจะเช่นเดียวกับยาที่มีชื่อยาสามัญชนิดเดียวกัน
อนึ่ง อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ประเภทยา: ชื่อสามัญและยาต้น แบบ

ทำไมยาบางอย่างกินก่อนอาหาร บางอย่างกินหลังอาหาร?

การกินยาให้ได้ประสิทธิผลในการรักษา ต้องอาศัยความเข้าใจในธรรมชาติของยาชนิดนั้นๆ ยากินหลายชนิดต้องกินก่อนอาหาร ½ - 1 ชั่วโมง ด้วยธรรมชาติของยานั้นอาจจะถูกรบกวนการดูดซึมหากมีอาหารอยู่ด้วย หรือยาบางกลุ่มจะถูกทำลายด้วยน้ำย่อยและกรดหากกินพร้อมอาหาร จึงต้องกินก่อนอาหาร ส่วนยาหลังอาหาร หรือยาที่ต้องกินพร้อมอาหาร ย่อมมีเหตุผลเช่นเดียวกัน ยาหลายกลุ่มหากกินในขณะที่ท้องว่าง อาจเกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ด้วยยาชนิดนั้นๆมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งกรดและน้ำย่อยให้ออกมามาก จึงจำเป็นต้องกินพร้อมอาหาร ยังมีเหตุผลอื่นๆอีก อาทิเช่น ยาบางกลุ่มต้องละลายตัวเองกับไขมันในอาหารก่อน ถึงจะสามารถดูดซึมได้ จึงต้องกินพร้อมอาหารทันที หรือกินหลังอาหาร เช่น ยากลุ่มวิตามิน เอ ดี อี เค เป็นต้น

ทำไมไม่ควรซื้อยากินเอง?

ยาหลายชนิดจัดเป็นยาอันตราย หากได้รับในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย หรือก่อให้เกิดพิษกับอวัยวะต่างๆ หากได้รับยาน้อยเกินไป หรือได้รับยาชนิดที่ไม่ตรงกับโรคก็ไม่สามารถรักษาโรคได้ กล่าวคือ อาการของโรคไม่ดีขึ้นแต่กลับลุกลาม การรักษายุ่งยากกว่าเดิม นอกจากนี้ การซื้อยากินเองอาจได้รับผลเสียและมีข้อจำกัดมากมายโดยมีหัวข้อที่ต้องใส่ใจดังนี้
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยา (Side effect) หรือ ผลอันไม่พึงประสงค์ (Adverse reaction หรือ AR) เป็นอาการของร่างกายที่ตอบสนองกับยาแต่ไม่ใช่ผลในการรักษา มักส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุลและรู้สึกไม่ปกติ เช่น มีอาการคลื่นไส้-อาเจียนเวียนศีรษะ แสบกระเพาะอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย หลังจากการใช้ยา เป็นต้น
    คำเตือนและข้อควรระวัง หรือ Special precaution (SP) จัดเป็นข้อควรระวังเป็นพิเศษที่เตือนก่อนการใช้ยา เช่น ระวังใช้ยากับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ-โรคไต การใช้ยากับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ขณะใช้ยานี้ต้องเฝ้าระวังการทำงานของตับ-ไต ระวังการเกิดภาวะหอบหืด ระวังการเกิดภาวะตกเลือด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกระบุในเอกสารกำกับยา
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา หรือ Drug interaction (DI) เป็นปฏิกิริยาระหว่างยา 2 ชนิด ขึ้นไปเมื่อใช้ร่วมกัน อาจส่งผลดีหรือผลเสียต่อผู้ที่ได้รับยานั้นๆ จึงจัดเป็นข้อพึงระวังของการใช้ยา ที่จะต้องสอบประวัติการใช้ยาอย่างละเอียด และถือเป็นข้อมูลสำคัญในการลดความคลาด เคลื่อนของการรักษาในการใช้ยานั้นๆ
  • การดื้อยา หรือ Drug Resistment เป็นสภาวะที่ร่างกายไม่ตอบสนองจากการใช้ยา หรือ หมายถึงการใช้ยาในครั้งถัดมาไม่ได้ผล อาจมีหลายสาเหตุ เช่น การกินยาปฏิชีวนะไม่ครบตามมาตรฐานการรักษา ทำให้เชื้อโรคสามารถต้านทานฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะนั้น หรือ เชื้อดื้อยา
  • ข้อห้ามใช้ หรือ Contraindication (CI) เป็นข้อจำกัดการใช้ยากับผู้ป่วยบางกลุ่ม เพราะอาจส่งผลเสียกับร่างกายอย่างมาก ยกตัวอย่างข้อความที่พบเห็นได้บ่อย เช่น ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยานี้ และห้ามใช้ยาในหญิงมีครรภ์

มียาอะไรบ้างซื้อกินเองได้หรือซื้อใช้เองได้?

กลุ่มยาที่ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อรับประทานเองได้ เป็นกลุ่มยาสามัญประจำบ้าน(http://pharmanet.co.th/articles.php?action=1&article_no=71) ที่เหมาะกับการรักษาโรคซึ่งมีอาการไม่รุนแรงมากนัก เช่น ท้องอืดเฟ้อ ท้องเสียชนิดไม่รุนแรง สภาวะท้องผูก ฯลฯ โดยยาเหล่านี้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นชนิดยาสามัญประจำบ้าน และถือว่ามีความปลอดภัยสูง อย่าง ไรก็ตามการบริโภคยาสามัญประจำบ้านแบบผิดผิด ย่อมก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้มาก กล่าว คือ กินผิดขนาด ผิดเวลา ผิดสรรพคุณ ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการรักษาและอาจเกิดโทษตามมาได้มาก ดังนั้นการซื้อยากินเองต้องศึกษารายละเอียดของยานั้นๆให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ควรปรึก ษาแพทย์ พยาบาล และ/หรือ เภสัชกร เพื่อให้การกินยาเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย

รู้ได้อย่างไรว่าแพ้ยา เมื่อแพ้ยาควรทำอย่างไร?

การแพ้ยา เป็นการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเมื่อได้รับยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะได้รับยาด้วยวิธีต่างๆ เช่น การกิน การฉีด หรือการทา อาจจะเกิดอาการผิดปกติขึ้นได้ โดยระดับความรุนแรงของอาการ มีได้ตั้งแต่ในระดับน้อยๆไปจนถึงขั้นอันตรายถึงแก่ชีวิต กรณีแพ้ยาแบบน้อยๆไม่รุนแรงมาก อาการจะหายไปเองภายใน 1–2 วัน แต่ถ้าอาการแพ้มากหรือรุนแรง ควรต้องส่งคนไข้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างฉุกเฉิน
การแพ้ยา แสดงออกได้หลายอาการ ที่พบบ่อย ได้แก่

มีหลักในการใช้ยาให้ปลอดภัยอย่างไร?

การใช้ยามีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด เมื่อกินยา หรือใช้ยา ควรต้องสังเกตตนเองเสมอ พร้อมกับปฏิบัติตาข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด หากมีอาการผิดปกติต่างๆ ควรหยุดกินยาแล้วรีบปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกร นอกจากนั้น คือ ต้องจำให้ได้ว่าแพ้ยาอะไร และต้องแจ้ง แพทย์ พยาบาล เภสัชกรถึงการแพ้ยาเสมอ และต้องไม่กินยาหรือใช้ยาชนิดนั้นๆอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น