วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คลอง 5 แผนที่ค่าเข้าการเดินทาง!!!

ใครเรียนอยู่มธ.หรือธรรมศาสตร์คงจะไปกันมาบ้างแล้ว แต่คนที่อยู่ไกลก็คงจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปสำหรับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อยู่คลอง 5 ปทุมธานี) ผมก็เห็นป้ายประจำแต่ยังไม่เคยเข้าไป ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติมีตึกที่สวยงาม แต่อาจจะไม่ค่อยมีการโปรโมตโฆษณาว่าในตัวของอาคารอันสวยงามนั้นมีอะไรอยู่บ้าง ในช่วงวันเด็กจะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เหมือนกันครับ ลองไปแวะชมกันดูช่วงวันเด็กสำหรับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


ข้อมูลทั่วไป
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช. หรือ NSM) เป็นรัฐวิสหกิจสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่ เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บริเวณที่ตั้งนี้ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี (อาคารรูปลูกบาศก์) อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและสารสนเทศ

ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ขั้นโดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการ และรับผิดชอบงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้รับอนุมัติให้จัดโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 5 รอบ กำหนดกรอบงบประมาณโครงการ 650 ล้านบาท และเริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2537 กระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชกำหนดจัดตั้งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ มีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประมาณ 3,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่ชั้น 4-5 อาคารจตุรัสจามจุรี (อาคารศูนย์การค้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งได้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา


ที่นั่นมีอะไรบ้าง
  • อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี เป็นอาคารอาคารหลักมีรูปทรงลูกบาศก์ 3 ลูกเชื่อมติดกันมี 6 ชั้น มีพื้นที่จัดแสดงประมาณ 10,000 ตร.ม. มีการจัดแสดงเป็นเนื้อหาต่างๆ ในแต่ละชั้น เช่น นิทรรศการหมุนเวียน ประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย พลังงาน วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และภูมิปัญญาไทย
    • ชั้นที่ 1. ส่วนต้อนรับ นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก ห้องอินเทอร์เน็ต การศึกษา และนิทรรศการหมุนเวียน
    • ชั้นที่ 2. ประวัติการค้นพบและการประดิษฐทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
    • ชั้นที่ 3. วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน อุโมงค์พลังงาน และโรงภาพยนตร์
    • ชั้นที่ 4. โลกของเรา สิ่งแวดล้อม สิ่งก่อสร้างและโครงสร้าง เกษตรกรรม
    • ชั้นที่ 5. ร่างกายของเรา การคมนาคม คุณภาพชีวิต วิทยาศาสตร์ในบ้าน และอนาคต
    • ชั้นที่ 6. เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย
  • อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มีเนื้อที่ 3,000 ตร.ม. ส่วนที่จัดแสดงอยู่บนชั้น 1 ของอาคาร มีเนื้อหาหลักคือ ความหลากหลายทางชีวภาพ แบ่งเป็นอาณาจักรของแบคทีเรีย เห็ดรา พืช วิวัฒนาการของชีวิต ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีห้องนักธรรมชาติวิทยา
  • อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและสารสนเทศ มีเนื้อที่ 9,300 ตร.ม. อยู่ระหว่างการพัฒนาและติดตั้งนิทรรศการหลัก มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสาร การคำนวณ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน กำหนดเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2554


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น