วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สายพันธุ์กระรอก


ภาพสายพันธุ์กระรอก...
พญากระรอกดำ (Black Giant Squirrel) 
เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย มีหางยาวเป็นพวงอาศัยหากินตามต้นไม้ใหญ่ ทำรังอยู่ตามยอดไม้ พบได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคอีสาน
พญากระรอกเหลือง (Cream-colored Giant Squirrel) เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่รองจากพญากระรอกดำ อาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบได้ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไป
กระรอกหลากสี ( Variable Squirrel,
Callosciurus finlaysoni bocourtl)
 เป็นกระรอกขนาดกลางมีสีสันหลากหลายมาก และสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยมากกว่า 10 ชนิด เป็นกระรอกที่มีหางพลิ้วเป็นพวงสวยงามมาก แต่ละชนิดย่อยก็สามารถพบได้ตาม
ภาคต่างๆ ของประเทศไทย
กระรอกสามสี (Prevost's Squirrel) เป็นกระรอกขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้น จนถึงป่าพรุทางภาคใต้จัดว่าเป็นกระรอก ที่มีความสวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง พบเห็นได้ ยากพบได้ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป
กระรอกท้องแดง (Belly-Banded Squirrel) 
เป็นกระรอกขนาดกลาง อาศัยหากิน ตามป่าไผ่และป่าทั่วไป ยกเว้นภาคตะวันออก และอีสาน
กระรอกดินหลังลาย (Three-striped Ground Squirrel)
เป็นกระรอกขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลเข้ม หากินตามพื้นดิน มีแถบสีดำ สามเส้นบนหลังเห็นได้ชัด พบทางภาคใต้ ตั้งแต่ จ.ยะลา ลงไป
กระรอกข้างลายท้องแดง (Plantain Squirrel)เป็นกระรอกขนาดกลาง อาศัยตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบได้ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป
กระรอกหางม้าเล็ก (Slender Squirrel) เป็นกระรอกขนาดกลาง มีหางยาวเรียว ไม่มีสีดำที่ปลายหาง ท้องสีเหลืองอ่อน อาศัยอยู่ในป่าพรุทางภาคใต้เท่านั้น
กระรอกหางม้าใหญ่ (Horse-tailed Squirrel)เป็นกระรอกขนาดกลาง มีหางขนาดใหญ่เป็นพวงฟู พบเห็นได้ยาก อาศัยอยู่ในป่าพรุทางภาคใต้เท่านั้น
กระรอกหน้ากระแต (Shrew-faced Ground Squirrel)
เป็นกระรอกขนาดกลาง มีสีน้ำตาลเข้ม จมูกยาวอย่างเห็นได้ชัด จึงดูหน้าแหลมกว่ากระรอกทั่วไป พบเห็นได้ยากมาก ใกล้สูญพันธุ์ อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้เท่านั้น
กระรอกปลายหางดำ (Gray-bellied Squirrel) 
เป็นกระรอกขนาดกลาง มีจำนวนชนิดย่อยถึง 6 ชนิด ส่วนชนิดนี้พบได้ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ลงมาถึง จ.เพชรบุรี และทางภาคใต้
กระรอกดินแก้มแดง (Red-cheeked Squirrel)เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนสีเทา มีแก้มและขนที่ใต้หางสีแดงปน น้ำตาล ชอบหากินตามพื้นดิน พบได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคอีสาน
กระจ้อน กระแต (Indochinese Ground Squirrel)
เป็นกระรอกขนาดเล็ก พบเห็นได้ทั่วไป ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นดินในป่า มีแถบสีดำสลับสีอ่อนด้านข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามสวนและป่ารอบนอก ไม่ชอบอยู่ตามป่าดิบทึบ
กระเล็น (กระถิก) ขนปลายหูยาว (Cambodian striped tree Squirrel) เป็นกระรอกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง เช่น ป่าดิบแล้ง และเต็งรัง หากินตามต้นไม้สูง พบทางภาคอีสานและทางตะวันออก
  

1 ความคิดเห็น:

  1. ตรวจแล้ว ควรปรับปรุงเรื่อง ขนาดความกว้างของส่วนเนื้อหา โดยเมื่อเข้าสู่ระบบแล้วไปที่ ปุ่ม การออกแบบ อยู่มุมบนสุดด้านขวามือนักเรียน แล้วเลือก รูปแบบ แล้วเลือก เครื่องมือออกแบบเทมเพลต จากนั้นเลือก ปรับความกว้าง ให้ได้ประมาณ 1100 px

    ตอบลบ