วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สายพันธุ์กระรอก


ภาพสายพันธุ์กระรอก...
พญากระรอกดำ (Black Giant Squirrel) 
เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย มีหางยาวเป็นพวงอาศัยหากินตามต้นไม้ใหญ่ ทำรังอยู่ตามยอดไม้ พบได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคอีสาน
พญากระรอกเหลือง (Cream-colored Giant Squirrel) เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่รองจากพญากระรอกดำ อาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบได้ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไป
กระรอกหลากสี ( Variable Squirrel,
Callosciurus finlaysoni bocourtl)
 เป็นกระรอกขนาดกลางมีสีสันหลากหลายมาก และสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยมากกว่า 10 ชนิด เป็นกระรอกที่มีหางพลิ้วเป็นพวงสวยงามมาก แต่ละชนิดย่อยก็สามารถพบได้ตาม
ภาคต่างๆ ของประเทศไทย
กระรอกสามสี (Prevost's Squirrel) เป็นกระรอกขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้น จนถึงป่าพรุทางภาคใต้จัดว่าเป็นกระรอก ที่มีความสวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง พบเห็นได้ ยากพบได้ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป
กระรอกท้องแดง (Belly-Banded Squirrel) 
เป็นกระรอกขนาดกลาง อาศัยหากิน ตามป่าไผ่และป่าทั่วไป ยกเว้นภาคตะวันออก และอีสาน
กระรอกดินหลังลาย (Three-striped Ground Squirrel)
เป็นกระรอกขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลเข้ม หากินตามพื้นดิน มีแถบสีดำ สามเส้นบนหลังเห็นได้ชัด พบทางภาคใต้ ตั้งแต่ จ.ยะลา ลงไป
กระรอกข้างลายท้องแดง (Plantain Squirrel)เป็นกระรอกขนาดกลาง อาศัยตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบได้ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป
กระรอกหางม้าเล็ก (Slender Squirrel) เป็นกระรอกขนาดกลาง มีหางยาวเรียว ไม่มีสีดำที่ปลายหาง ท้องสีเหลืองอ่อน อาศัยอยู่ในป่าพรุทางภาคใต้เท่านั้น
กระรอกหางม้าใหญ่ (Horse-tailed Squirrel)เป็นกระรอกขนาดกลาง มีหางขนาดใหญ่เป็นพวงฟู พบเห็นได้ยาก อาศัยอยู่ในป่าพรุทางภาคใต้เท่านั้น
กระรอกหน้ากระแต (Shrew-faced Ground Squirrel)
เป็นกระรอกขนาดกลาง มีสีน้ำตาลเข้ม จมูกยาวอย่างเห็นได้ชัด จึงดูหน้าแหลมกว่ากระรอกทั่วไป พบเห็นได้ยากมาก ใกล้สูญพันธุ์ อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้เท่านั้น
กระรอกปลายหางดำ (Gray-bellied Squirrel) 
เป็นกระรอกขนาดกลาง มีจำนวนชนิดย่อยถึง 6 ชนิด ส่วนชนิดนี้พบได้ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ลงมาถึง จ.เพชรบุรี และทางภาคใต้
กระรอกดินแก้มแดง (Red-cheeked Squirrel)เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนสีเทา มีแก้มและขนที่ใต้หางสีแดงปน น้ำตาล ชอบหากินตามพื้นดิน พบได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคอีสาน
กระจ้อน กระแต (Indochinese Ground Squirrel)
เป็นกระรอกขนาดเล็ก พบเห็นได้ทั่วไป ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นดินในป่า มีแถบสีดำสลับสีอ่อนด้านข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามสวนและป่ารอบนอก ไม่ชอบอยู่ตามป่าดิบทึบ
กระเล็น (กระถิก) ขนปลายหูยาว (Cambodian striped tree Squirrel) เป็นกระรอกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง เช่น ป่าดิบแล้ง และเต็งรัง หากินตามต้นไม้สูง พบทางภาคอีสานและทางตะวันออก
  

โรคไม่ติดต่อ


    ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อและการป้องกัน
            โรคไม่ติดต่อเกิดจากพฤติกรรมของคนที่ไม่ถูกต้อง และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งไม่มีการติดต่อและแพร่กระจายของโรค แต่สามารถป้องกันได้หากรู้เข้าใจ และปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้อง เพราะจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเกิดโรคได้
                โรคไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือดต่างๆเป็นต้น
การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ
1. หลีกเลี่ยงการเป็นโรคด้วยการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรค เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสม
2. สร้างเสริมชีวิตครอบครัวให้มีความสุขด้วยการดูแลบ้านให้สะอาด เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ร่วมกันแก้ปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้นด้วยความเข้าใจกัน การมีครอบครัวดีมีความอบอุ่น เป็นการรักษาสุขภาพจิตเบื้องต้น
3. ป้องกันการเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ ด้วยการใช้เครื่องป้องกันตามระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานนั้นๆ เช่น ใส่หมวกนิรภัยเมื่อทำงานในเขตก่อสร้าง
4. ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้สะอาด สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการป้องกันมลภาวะทั้งในน้ำและในอากาศ เช่น ทิ้งขยะถูกที่
5. หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น การใช้ยาผิด การสูบบุหรี่
โรคไม่ติดต่อที่พบในชีวิตประจำวัน
    1. โรคกระเพาะอาหาร              โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง หรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมาก จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    สาเหตุ  สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
      1. สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น
      2. มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร
    อาการ
    1. ปวดท้อง
    2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
    3. อาการโรคแทรกซ้อน

    การรักษา
    1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ กินอาหารให้เป็นเวลา งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง งดดื่มน้ำชา กาแฟ งดสูบบุหรี่ งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด
    2. การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลา ที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะ ลดยาหรือหยุดยาวได้
    3. การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน
    2. โรคมะเร็ง
                  มะเร็ง
     เป็นเนื้องอกชนิดร้ายที่เนื้อมะเร็งมีการแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อปรกติที่ อยู่โดยรอบ เป็นเซลล์ร่างกายที่มีการแบ่งตัวไม่เป็นไปตามแบบแผนอยู่นอกเหนืออำนาจการควบ คุม สามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกายที่ห่างไกลออกไป และไม่ติดต่อกับก้อนมะเร็งเดิม มะเร็งสามารถเกิดจากเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย ยกเว้น ขน ผม เล็บที่งอกออกมาแล้วเท่านั้น
    สาเหตุ เกิดจากการได้รับสารก่อมะเร็ง ซึ่งมาจากการได้รับควันบุหรี่ การเป็นแผลเรื้อรัง และยังคาดว่าเกิดจากยีนที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
    อาการ มะเร็งเป็นเนื้องอกที่เจริญอย่างรวดเร็วผิดปกติ อาการเริ่มแรกเป็นก้อนเนื้อ หรือเป็นแผลเรื้อรัง ต่อไปจึงกลายเป็นเนื้อร้าย
    การรักษา ควรเริ่มตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันมีทั้งการรักษาทางยา รักษาด้วยการผ่าตัดและรักษาด้วยรังสี
    3. โรคอ้วน
                   ความอ้วน  หมายถึง สภาพร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยการสะสมของไขมันจนมีปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกาย
    สาเหตุ
    1. เกิดจากสาเหตุภายนอก เป็นสาเหตุใหญ่ที่เกิดโรคอ้วน เพราะตามใจปากมากเกินไป กินมากเกินความต้องการของร่างกาย อาหารที่กิน เนื้อ ไขมัน หรือแป้ง ของหวาน สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ถ้ามีมากเกินไปก็จะกลายเป็นไขมันพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ออกกำลังกายน้อย กินแล้วนอนนิสัยในการรับประทาน คนที่มีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี เรียกว่า กินจุบกินจิบไม่เป็นเวลา  ขาดการออกกำลังกาย ถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ได้ออกกำลังกายบ้างก็อาจทำให้อ้วนช้าลง แต่หลายคนไม่ได้ยืดเส้นยืดสาย ไม่ช้าจะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกาย
    2. มาจากสาเหตุภายใน พบได้จากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อไทรอยด์ ทำให้มีไขมันตามบริเวณต้นแขน ต้นขา และหน้าท้อง     

    •   จิตใจและอารมณ์ มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่การกินอาหารขึ้นอยู่กับจิตใจและอารมณ์ เช่น กินดับความโกรธ ดับความคับแค้นใจ กลุ้มใจ กังวลใจ หรือดีใจ บุคคลเหล่านี้ จะรู้สึกว่าอาหารที่ทำให้จิตใจสงบ จึงหันมายึดเอาอาหารไว้เป็นที่พึ่งทางใจ ตรงกันขามกับบางคนกลุ้มใจเสียใจก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
    •   ความ ไม่สมดุลระหว่างความรู้สึกอิ่มกับความหิว เมื่อใดที่ความอยากเพิ่มขึ้น เมื่อนั้นการกินก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้นเรียกว่า กินจุ ในที่สุดก็อ้วนเอาๆ
    3.  เพราะกรรมพันธุ์ ซึ่งพบได้น้อย กรรมพันธุ์นี้พิสูจน์ไม่ได้ แต่ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคน ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 40
    4. โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง
    5. จากการกินยาบางชนิด ก็ส่งผลกระทบให้อ้วน ผู้ป่วยบางโรคได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือกินยาคุมกำเนิดก็ทำให้อ้วนง่ายเช่นกัน
    6. เพศ  เพศหญิงนั้นมักอ้วนกว่าเพศชาย ก็ธรรมชาติเธอมักสรรหาจะกิน กิน และกิน ตลอดเวลา อีกทั้งตอนตั้งครรภ์ ก็ต้องกินมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและลูกน้อยในครรภ์ แต่หลังจากคลอดลูกแล้ว บางรายก็ลดน้ำหนักลงมาได้ แต่บางรายก็ลดไม่ได้ ผู้หญิงทำงานน้อย ออกกำลังน้อยกว่าชาย ผู้หญิงอ้วนมากกว่าผู้ชาย 4 : 1

    การลดความอ้วนที่ถูกวิธี
                การลดความอ้วนก็คล้ายกับการปฏิบัติในการรักษาโรคอื่นๆ เพราะในการลดความอ้วนนั้นต้องอาศัยหลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งกำลังใจและเวลา การปฏิบัติทั่วๆไปในการลดน้ำหนัก คือ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย